วันอาทิตย์ที่ 27 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

บันทึกครั้งที่16

วัน อาทิตย์ ที่ 27 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2554



สอบปลายภาค!!!
สอบปฏิบัติการสอนในขอบข่ายของหลักสูตรคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
สอนเกี่ยวกับ
-การนับจำนวนไม้หนีบผ้า
-การจัดประเภทสิ่งที่มีสีส้ม และสิ่งที่ไม่มีสีส้ม
ข้อควรปรับปรุง(จินตนา จีนปฎิพัทธิ์ ผู้ประเมิน)
-การร้องเพลง ควรหยุดให้เด็กได้ตอบ
-การใช้คำถามควรพูดว่า"เด็กๆคิดว่าในกล่องนี้คืออะไร"
-อาสาสมัครจัดประเภทสีควรให้เด็กมาหยิบคนละ1อันแล้วให้คนต่อไปมาหยิบต่อ
-ควรทำที่ตั้งสำหรับตัวเลขหรือทำไม้ถือ
บรรยากาศ
-กระตือรือร้นในการได้ร่วมทำกิจกรรมของเพื่อนๆเนื่องจากมีการใช้คำถามและได้ปฏิบัติ
-ห้องเรียนเหมาะสมในการสอบเพราะอากาศเย็นสบาย

วันอาทิตย์ที่ 20 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

บันทึกครั้งที่ 15

วัน พฤหัสบดี ที่ 17 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2554

อาจารย์สอนเกี่ยวกับวิธีการเรียนรู้ของเด็ก ซึ่งการเรียนรู้ของเด็กนั้นโดยการใช้ประสาทสัผัสทั้ง 5 ผ่านการกระทำ และการเล่นก็เป็นวิธีการเรียนรู้อีกอย่างหนึ่ง ซึ่งก่อนที่เด็กจะทำแบบฝึกหัดได้นั้นควรให้เด็กได้เห็นของจริง ครูควรกระตุ้นเด็กอยู่เสมอเพื่อให้เด็กได้สนุกสนานในการทำกิจกรรมโดยการใช้คำถาม และอาจารย์ได้สาธิตในการนำสื่อมา เช่น ปากกา 5 ด้าม ในการเรียนรู้เกี่ยวกับคณิตศาสตร์นั้นเราต้องนำมาให้เด็กได้นับ 1-5 ซึ่งนับทีละด้าม จากนั้นนำมาเปรียบเทียบว่า

สิ่งที่ไม่ใช่ดินสอ ดินสอ
X X
X X
X
2 3
โดยให้เด็กนำป้ายตัวเลขมาใส่แทนจำนวน
การเขียนแผนภูมิเปรียบเทียบสิ่งที่เหมือกันและไม่เหมือนกัน

ดินสอ ไม่ใช่ดินสอ
แท่งคาร์บอน ใช้เขียน หมึก
เหลาได้ มีหลายสี เหลาไม่ได้
ไม้/พลาสติก
ลบได้
เปลี่ยนไส้
มีกลิ่น
หมายเหตุ อาจารย์นัดสอบวันอาทิตย์ ที่ 27 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2554
เกี่ยวกับขอบข่ายคณิตศาสตร์พร้อมปฏิบัติและสื่อ

บันทึกครั้งที่ 14

วัน พฤหัสบดี ที่ 10 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2554

อาจารย์พูดถึงยายเช้าที่หาวอ้าปากกว้างก็มีแมลงบินเข้าปาก ซึ่งเป็นเรื่องของมารยาท
กิจกรรมวงกลม หน่วย วงจรผีเสื้อ
วงจรผีเสื้อ ในการเรียงลำดับเหตุการณ์ เป็นวัฏจักรผีเสื้อ
การจัดประเภทผีเสื้อ โดยแบ่ง สิ่งที่ไม่ใช่สีเดียวกับสีเดียว ผีเสื้อกลางวันกับผีเสื้อกลางคืน
จากนั้นใช้คำถามกับเด็กๆว่า เด็กคนไหนชอบผีเสื้อบ้าง ซึ่งเป็นการนับจำนวน ปริมาณ และนำมาเสนอเป็นแผนภูมิ ซึ่งอยู่ในสาระที่ 5 การวิเคราะห์ข้อมูลและความน่าจะเป็น

สื่อที่เพื่อนนำมาในวันนี้มีทั้งหมด 11 เกม ดังนี้
1.เกม พื้นฐานการบวก (เป็นการนับ )
วิธีการเล่น บวกจำนวนเพิ่มทีละหนึ่ง







2.เกมจิ๊กซอร์ผีเสื้อ ,จิ๊กซอร์ฝนตก ,จิ๊กซอร์รูปคนข้ามถนน (เรียงลำดับ ,การนับ)
วิธีการเล่น ต่อจิ๊กซอร์รูปภาพให้ครบสมบูรณ์





3.เกม จับคู่ภาพซ้อน (จับคู่)
วิธีการเล่น จับคู่ภาพซ้อนในส่วนที่หายไปให้สมบูรณ์








4.เกม จับคู่ภาพที่แทนด้วยสัญลักษณ์ (รูปทรง)
วิธีการเล่น จับคู่รูปเรขาคณิตกับรูปภาพตามเกณฑ์ที่กำหนด





5.เกม จับคู่ภาพสัตว์ (รูปร่าง)
วิธีการเล่น จับคู่ภาพสัตว์ชนิดเดียวกันหาครึ่งส่วนที่หายไป
6.เกม จับคู่รอยเท้า (รูปร่าง)
วิธีการเล่น จับคู่ภาพสัตว์กับรอยเท้าสัตว์
7.เกม ต่อภาพจำนวนที่เท่ากัน (การนับ)
วิธีการเล่น ดูตัวอย่างรูปข้างหน้า จับคู่รูปขนมทีมีจำนวนชิ้นเท่ากัน
8.เกม จับคู่ภาพแบบอุปมา อุปไมย (เรียงลำดับเหตุการณ์)
วิธีการเล่น นำภาพที่มีเหตุการณ์เดียวกันมาวางไว้ด้วยกัน

9.เกม จัดหมวดหมู่ภาพด้านหน้า ด้านข้าง ด้านหลัง (การจัดประเภท)
วิธีการเล่น จัดประเภทภาพเดียวกันในลักษณะด้านหน้า ด้านข้าง ด้านหลัง


















































บันทึกครั้งที่ 13

วัน พฤหัสบดี ที่ 3 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2554

วันนี้อาจารย์สอนเกี่ยวกับสาระสำคัญทางคณิตศาสตร์ เป็นหลักกการที่ต้องการปลูกฝังให้แก่เด็ก ดังนั้นผู้สอนควรศึกษาสาระสำคัญทางคณิตศาสตร์ของแต่ละสาระในกรอบมาตรฐานการเรียนรู้คณิตศาสตร์ปฐมวัยเพื่อให้เข้าใจตรงกัน มีทั้งหมด 5 สาระ ดังนี้
สาระที่1 จำนวนและการดำเนินการ
-จำนวนนับใช้บอกจำนวนของสิ่งต่างๆ จำนวนนับได้แก่ หนึ่ง สอง สาม สี่ ห้า ... เป็นจำนวนนับเพิ่มขึ้นทีละหนึ่งตามลำดับ ซึ่งศูนย์ไม่ใช่จำนวนนับ
-ตัวเลขเป็นสัญลักษณ์ที่ใช้เขียนแสดงจำนวน
-สัญลักษณ์ที่ใช้เขียนแสดงจำนวนเรียกว่าเลขโดด ในระบบฐานสิบ มี 10 ตัว ประกอบด้วย ตัวเลขฮินดูและตัวเลขไทย
สาระที่ 2 การวัด
- เป็นการวัดความยาวของสิ่งต่างๆ การหาความยาวตามแนวนอน การวัดความสูงเป็นการหาความยาวแนวตั้ง การวัดความยาว ความสูงของสิ่งต่างๆ อาจใช้เครื่องมือวัดที่มีหน่วยไม่ใช่มาตรฐาน
-ยาวกว่า สั้นกว่า สูงกว่า เตี้ยกว่า / ต่ำกว่า ยาวกว่า/สูงเท่ากัน เป็นคำที่ใช้ในการเปรียบเทียบความยาว/ความสูงของสิ่งต่างๆ
-การเรียงลำดับความยาว/ความสูง การเรียงลำดับน้ำหนักของสิ่งต่างๆ อาจเรียงจากน้อยไปหามากหรือมากไปหาน้อย
-การตวง อาจใช้เครื่องมือตวงที่มีหน่วย
สาระที่ 3 เรขาคณิต
การจำแนกทรงกลม ทรงสี่เหลี่ยมมุมฉาก กรวย ทรงกระบอก และรูปสามเหลี่ยม สี่เหลี่ยม วงกลม ใช้วิธีพิจารณารูปร่างและขอบของรูป ส่วนข้างบน ข้างล่าง ข้างใน ข้างนอก ข้างหลัง ระหว่าง ข้างซ้าย ข้างขวา ใกล้ ไกล เป็นคำที่ใช้บอกตำแหน่ง ทิศทาง ระยะทางของสิ่งต่างๆ
สาระที่ 4 พีชคณิต
แบบรูปที่เป็นความสัมพันธ์ที่แสดงลักษณะสำคัญร่วมของชุด ของจำนวนรูปเรขาคณิต หรือสิ่งต่างๆ
สาระที่ 5 การวิเคราะห์ข้อมูลและความน่าจะเป็น
-การเก็บรวบรวมข้อมูลอาจใช้วิธีสังเกตหรือสอบถามก็ได้
-แผนภูมิรูปภาพเป็นการนำเสนอข้อมูลอย่างง่าย โดยใช้รูปภาพแสดงจำนวนของสิ่งต่างๆ อาจวางรูปตามแนวนอนหรือแนวตั้งก็ได้ เช่น กราฟ

วันอังคารที่ 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

บันทึกครั้งที่12

วัน พฤหัสบดี ที่ 27 มกราคม พ.ศ.2554

อาจารย์ให้จับกลุ่ม กลุ่มละ 4 คน
- คิดหน่วยที่จะทำ Mand Map หน่วยผัก

-นำขอบข่ายคณิตศาสตร์มาใช้
-เขียนแผนการจัดประสบการณ์ 4วัน
วันแรก เกี่ยวกับลักษณะ
1.การนับ 2.การจัดประเภทตามสี
วันที่สอง ส่วนประกอบ
1.การจัดประเภท ที่มีใยและไม่มีใย
วันที่สาม ประโยชน์,โทษ
วันที่สี่ การทำคุ๊กกิ้ง


บรรยากาศในการเรียน
สำหรับวันนี้บรรยากาศเย็น และมีความกระตือรือร้นในการช่วยการคิด แลกเปลี่ยนแสดงความคิดเห็น ทำให้เกิดความสามัคคีกันในกลุ่ม


บันทึกครั้งที่ 11

วัน พฤหัสบดี ที่ 20 มกราคม พ.ศ.2554

อาจารย์สอนเกี่ยวกับคำศัพท์ทางคณิตศาสตร์ ได้แก่ ตัวเลข ขนาด รูปร่าง ที่ตั้ง ค่าของเงิน ความเร็ว(เวลา/สิ่งที่ทำ ระยะทาง) อุณหภูมิ
มาตราการวัดในระบบเมตริก
- คำศัพท์ที่เด็กควรทราบ
- ระบบเมตริกที่ใช้ในชีวิตประจำวัน
- การวัดเรื่องเวลา

วันพุธที่ 19 มกราคม พ.ศ. 2554

บันทึกรั้งที่10

เรียนชดเชย วันเสาร์ ที่ 15 มกราคม พ.ศ.2554

อาจารย์สอนหลักการสอนคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย(ต่อ)
5.ใช้วิธีการจดบันทึกพฤติกรรมเพื่อใช้ในการวางแผนและจัดกิจกรรม วิธีการที่จะช่วยให้ครูวางแผนและจัดกิจกรรมให้เหมาะสมกับเด็กทั้งรายบุคคลและเป็นกลุ่มคือ การจดบันทึก ด้านทัศนคติ ทักษะ และความรู้ ความเข้าใจของเด็กในขณะทำกิจกรรมต่างๆ และขณะที่เด็กเล่นอย่างเสรีในหลายๆสถานการณ์
6.ใช้ประโยชน์จากประสบการณ์เดิมของเด็กเพื่อสอนประสบการณ์ใหม่ในสถานการณ์ใหม่ๆ ประสบการณ์ทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัยเกิดจากกิจกรรมเดิมที่เคยทำมาแล้วหรือเพิ่มเติมขึ้นอีก ถึงแม้ว่าเป็นเรื่องเดิมแต่อาจอยู่ในสถานการณ์ที่แตกต่างกันออกไป เช่น เรื่องการนับ นับจำนวนนักเรียนหญิง-ชาย นับจำนวนเก้าอี้หรือออกไปนอกห้องเรียนอาจมีการนับผลไม้ที่เก็บได้ นับจำนวนสัตว์หรือต้นไม้
เพลงเกี่ยวกับคณิตศาสตร์ ดังนี้
1.เพลงสวัสดียามเช้า
ตื่นเช้าแปรงฟันล้างหน้า อาบน้ำแล้วมาแต่งตัว
กินอาหารของดีมีทั่ว หนูเตรียวตัวจะไปโรงเรียน
สวัสดีคุณพ่อ คุณแม่ ไม่รีรอไปโรงเรียน
หลั่นล้า หลั่นลา หลั่นหล่า หลั่น ลันลา
หลั่นลา หลั่นล้า
2.เพลง สวัสดีคุณครู
สวัสดีคุณครูที่รัก หนูจะตั้งใจอ่านเขียน
ยามเช้าเรามาโรงเรียนๆ หนูจะพากเพียรขยันเรียนเอย
3.เพลง หนึ่งปีมีสิบสองเดือน
หนึ่งปีนั้นมีสิบสองเดือน อย่าลืมเลือนจำไว้ให้มั่น
หนึ่งสัปดาห์นั้นมีเจ็ดวัน อาทตย์ จันทร์ อังคาร พุธ พฤหัส ศุกร์ เสาร์
4.เพลง เข้าแถว
เข้าแถว เข้าแถว อย่าล้ำแนวยืนเรียงกัน
อย่ามัวแชเชือนเดินตามเพื่อนให้ทัน ระวังเดินชนกันเข้าแถวพลันว่องไว
5.เพลง จัดแถว
สองมือเราชูตรง แล้วเอาลงมาเสมอกับบ่า
ต่อไปย้ายไปข้างหน้า แล้วเอาลงมาอยู่ในท่ายืนตรง
6.เพลง ซ้าย-ขวา
ยืนให้ตัวตรงก้มหัวลงตบมือแผละ
แขนซ้ายอยู่ไหนหันตัวไปทางนั้นแหละ