วันอาทิตย์ที่ 20 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

บันทึกครั้งที่ 13

วัน พฤหัสบดี ที่ 3 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2554

วันนี้อาจารย์สอนเกี่ยวกับสาระสำคัญทางคณิตศาสตร์ เป็นหลักกการที่ต้องการปลูกฝังให้แก่เด็ก ดังนั้นผู้สอนควรศึกษาสาระสำคัญทางคณิตศาสตร์ของแต่ละสาระในกรอบมาตรฐานการเรียนรู้คณิตศาสตร์ปฐมวัยเพื่อให้เข้าใจตรงกัน มีทั้งหมด 5 สาระ ดังนี้
สาระที่1 จำนวนและการดำเนินการ
-จำนวนนับใช้บอกจำนวนของสิ่งต่างๆ จำนวนนับได้แก่ หนึ่ง สอง สาม สี่ ห้า ... เป็นจำนวนนับเพิ่มขึ้นทีละหนึ่งตามลำดับ ซึ่งศูนย์ไม่ใช่จำนวนนับ
-ตัวเลขเป็นสัญลักษณ์ที่ใช้เขียนแสดงจำนวน
-สัญลักษณ์ที่ใช้เขียนแสดงจำนวนเรียกว่าเลขโดด ในระบบฐานสิบ มี 10 ตัว ประกอบด้วย ตัวเลขฮินดูและตัวเลขไทย
สาระที่ 2 การวัด
- เป็นการวัดความยาวของสิ่งต่างๆ การหาความยาวตามแนวนอน การวัดความสูงเป็นการหาความยาวแนวตั้ง การวัดความยาว ความสูงของสิ่งต่างๆ อาจใช้เครื่องมือวัดที่มีหน่วยไม่ใช่มาตรฐาน
-ยาวกว่า สั้นกว่า สูงกว่า เตี้ยกว่า / ต่ำกว่า ยาวกว่า/สูงเท่ากัน เป็นคำที่ใช้ในการเปรียบเทียบความยาว/ความสูงของสิ่งต่างๆ
-การเรียงลำดับความยาว/ความสูง การเรียงลำดับน้ำหนักของสิ่งต่างๆ อาจเรียงจากน้อยไปหามากหรือมากไปหาน้อย
-การตวง อาจใช้เครื่องมือตวงที่มีหน่วย
สาระที่ 3 เรขาคณิต
การจำแนกทรงกลม ทรงสี่เหลี่ยมมุมฉาก กรวย ทรงกระบอก และรูปสามเหลี่ยม สี่เหลี่ยม วงกลม ใช้วิธีพิจารณารูปร่างและขอบของรูป ส่วนข้างบน ข้างล่าง ข้างใน ข้างนอก ข้างหลัง ระหว่าง ข้างซ้าย ข้างขวา ใกล้ ไกล เป็นคำที่ใช้บอกตำแหน่ง ทิศทาง ระยะทางของสิ่งต่างๆ
สาระที่ 4 พีชคณิต
แบบรูปที่เป็นความสัมพันธ์ที่แสดงลักษณะสำคัญร่วมของชุด ของจำนวนรูปเรขาคณิต หรือสิ่งต่างๆ
สาระที่ 5 การวิเคราะห์ข้อมูลและความน่าจะเป็น
-การเก็บรวบรวมข้อมูลอาจใช้วิธีสังเกตหรือสอบถามก็ได้
-แผนภูมิรูปภาพเป็นการนำเสนอข้อมูลอย่างง่าย โดยใช้รูปภาพแสดงจำนวนของสิ่งต่างๆ อาจวางรูปตามแนวนอนหรือแนวตั้งก็ได้ เช่น กราฟ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น